วันเสาร์ที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2557

เห็ดขอนขาว Lentinus squarrosulus

เห็ดขอนขาว (Lentinus squarrosulus)
                      กรมวิชาการเกษตร ศึกษาการเพาะเลี้ยงเห็ดขอนขาว (Lentinus squarrosulus) โดยมีรายละเอียดตั้งแต่การเตรียมอาหารวุ้น การเตรียมเส้นใยเห็ดจากดอก การเตรียมเชื้อขยายในอาหารเมล็ดข้าวฟ่าง การผลิตก่อนเชื้อ การเปิดดอก การเก็บดอก และการเก็บรักษาดอกเห็ด ดังต่อไปนี้ 
                   เห็ดขอนขาว เป็นเห็ดที่ชาวอีสานเรียกเห็ดชนิดหนึ่งที่ชอบขึ้นบนขอนไม้ตระกูล เต็งรัง และไม้มะม่วง เห็ดชนิดนี้จะพบมากในช่วงต้นฝน หรือในช่วงที่ฝนชุก ในภาคกลางเรียกเห็ดชนิดนี้ว่า เห็ดมะม่วง ดอกเห็ดจะเป็นสีขาวนวล หรือครีมกึ่งเหลืองอ่อน ในระยะที่ขอบหมวกดอกยังม้วนงอ เมื่อหงายขึ้นมองไม่เห็นครีบใต้ดอก หรือเห็นเป็นบางส่วนในบริเวณที่ครีบติดกับก้านดอก ระยะนี้เหมาะที่จะเก็บมารับประทานที่สุด เมื่อดอกเริ่มแก่ ขอบหมวกดอกจะค่อยๆ คลายออก เผยอให้เห็นครีบใต้หมวกและหลังจากนั้นขอบหมวกก็จะยกขึ้น ทําให้ดอกคล้ายรูปถ้วยหรือจานก้นลึก ซึ่งเมื่อถึงระยะนี้ดอกจะเหนียว ยากต่อการรับประทาน เห็ดขอนขาว เมื่อนําไปประกอบอาหาร จะให้รสชาติหวาน เหนียวเล็กน้อยคล้ายเนื้อสัตว์เป็นที่นิยมกันมากในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือตอนบน

ติดต่อที่  โทร. 0908415240 สำหรับ ผู้ที่ต้องการ ก้อนเห็ด(เชื้อเห็ด)ไปทำฟาร์มเก็บดอกขาย
                 เห็ดของเราดอกสวย คุณภาพดี รสชาติอร่อย เป็นพิเศษ สำหรับท่านที่สนใจสั่งซื้อไปรับประทาน, สั่งซื้อไปจำหน่าย หรือ ซื้อก้อนเห็ดไปทำการเพาะเลี้ยง(ให้ผลผลิตอย่างคุ้มค่า) เรามีไว้จำหน่ายให้ท่านอย่างเพียงพอ

             ติดต่อที่  โทร. 0908415240 สำหรับ เขตอำเภอหนองสองห้อง, 
ติดต่อที่  โทร. 0986726534 หรือ 0930767214 หรือ 0833846675 สำหรับ เขตอำเภอพุทไธสง, นาโพธิ์, บ้านใหม่ไชยพจน์, ประทาย, โนนแดง, คง, คูเมือง, แคนดง, บ้านด่าน, สตึก, จอมพระ, ชุมพลบุรี, ลำทะเมนชัย, เมืองยาง, ชุมพวง, พิมาย,  ฯลฯ


             ติดต่อที่  โทร. 0986726534 หรือ 0930767214 สำหรับ เขตอำเภอยางสีสุราช, นาเชือก, นาดูน, วาปีประทุม, พยัคฆภูมิพิสัย, ประทุมรัตน์, สตึก, จอมพระ, ชุมพลบุรี, ท่าตูม, สนม  ฯลฯ

                    การเตรียมอาหารวุ้นเลี้ยงแม่เชื้อ 
           สูตรอาหารวุ้น (PDA) 
 มันฝรั่ง 200 กรัม 
 น้ําตาลทราย 20 กรัม 
 วุ้นทําขนม 20 กรัม 
 น้ํากลั่น (น้ําฝน) 1000 มิลลิลิตร (1 ลิตร)

                    การเตรียมเส้นใยเห็ดจากดอก (การผลิตเชื้อเห็ดบริสุทธิ์) 
            นําดอกเห็ดที่ไม่ช้ำหรือฉ่ำน้ํา และเห็นว่ามีลักษณะดีตามความต้องการมาฉีกแบ่งครึ่งเป็น 2 ส่วน โดยพยายามอย่าให้ส่วนที่แบ่งขาดจากกันนั้น สัมผัสกับภาชนะใดๆ ใช้เข็มเขี่ยปลายแหลมซึ่งลนไฟฆ่าเชื้อจนร้อนแดงแล้ว ตัดเนื้อตรงกลางก้านดอก หรือบริเวณเนื้อดอกที่ติดกับก้าน ย้ายลงอาหารวุ้นพีดีเอแล้วเก็บไว้ในห้องที่สะอาด ปราศจากมดและแมลงประมาณหนึ่งสัปดาห์จะเห็นเส้นใยเห็ดสีขาวเจริญจากเนื้อเยื่อเห็ด ซึ่งจะขยายและนําไปใช้เป็นแม่เชื้อต่อไป ถ้าเส้นใยเป็นสีอื่นหรือสีขาวขุ่น เยิ้มแสดงว่ามีเชื้อราและแบคทีเรียปนเปื้อนเกิดขึ้น ควรจะทิ้งไป
                  การเตรียมเชื้อขยายในอาหารเมล็ดข้าวฟ่าง
          เส้นใยเห็ดในอาหารวุ้นนั้น จะเรียกว่า แม่เชื้อ ไม่นิยมถ่ายไปเลี้ยงในวัสดุเพาะโดยตรง เพราะจะเกิดการปนเปื้อนสูง จะต้องเตรียมอาหารจากเมล็ดข้าวฟ่าง หรือธัญพืชอื่นๆ เช่น ข้าวโพดหรือข้าวนกผสมขี้เลื่อย เพื่อขยายเส้นใยให้ได้ปริมาณมากๆ ซึ่งเรียกว่า เชื้อขยาย ก่อน จึงจะถ่ายหัวเชื้อต่อลงในวัสดุเพาะซึ่งมีวิธีการเตรียมดังนี้ แช่เมล็ดข้าวฟ่างในน้ําทิ้งไว้ 1 คืน เพื่อให้เมล็ดข้าวฟ่างอ่อนตัวลง จากนั้นนําไปต้มไฟปานกลางเมื่อเมล็ดข้าวฟ่างเริ่มนุ่ม เมื่อกดเมล็ดให้แตก  จะเห็นเนื้อแป้งของเมล็ดรอบนอกใส ส่วนภายในของเมล็ดครึ่งหนึ่งยังขาวขุ่นเป็นแป้งอยู่ก็ใช้ได้ นําขึ้นสรงให้สะเด็ดน้ำบนตะแกรง เมื่อเย็นกรอกใส่ขวดแบนประมาณหนึ่งในสองหรือสามของขวด จากนั้นปิดจุกสําลี นําไปนึ่งหม้อนึ่งความดัน โดยใช้ความร้อน 121-125 องศาเซลเซียส ความดัน 15 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว เวลา 30 นาที 
                   วิธีผลิตก้อนเชื้อ 
         สูตรวัสดุเพาะ ประกอบด้วย 
 ขี้เลื่อยไม้ยางพารา 100 กิโลกรัม 
 รําละเอียด 3-5 กิโลกรัม 
น้ําตาลปรายละเอียด 3 กิโลกรัม 
 ดีเกลือ MgSO4.7H2O 0.2 กิโลกรัม 
 ปูนขาว Ca(OH) 2 1 กิโลกรัม

           นอกจากขี้เลื่อยไม้ยางพารา อาจใช้ไม้เบญจพรรณอื่นๆ แทนก็ได้ หากเป็นไม้เบญจพรรณ ควรจะหมักทิ้งไว้ประมาณ 1 เดือน โดยนําส่วนผสมมาคลุกเคล้าผสมให้เข้ากันดี ปรับความชื้นประมาณ 60-65 % เมื่อผสมได้ที่แล้ว บรรจุขี้เลื่อยผสมลงในถุงพลาสติก ใช้น้ําหนัก 800-1,000 กรัม ใส่คอขวด จีบพับพลาสติกส่วนที่เหลือให้สม่ำเสมอ รัดด้วยหนังยาง ปิดสําลี ใช้กระดาษหนังสือพิมพ์หุ้มสําลีไว้อีกชั้นหนึ่ง จากนั้นนําไปนึ่งฆ่าเชื้อทันที หลังนึ่งเมื่ออุณหภูมิถุงเย็นลง ใส่เชื้อเมล็ดข้าวฟ่างทันที ไม่ควรทิ้งไว้เกิน 24 ชั่วโมง จะทําให้อาหารบูด เชื้อเห็ดจะเจริญในอาหารไม่ดี


           การนึ่งฆ่าเชื้อ ควรใช้อุณหภูมิประมาณ 100 ๐ซ เวลา 2-3 ชั่วโมง หากนึ่งด้วยหม้อนึ่งลูกทุ่ง ที่เจาะรู 1 หุน ที่ฝาปิด จะมีวิธีการนึ่งคือ ใส่น้ําให้สูง 20 เซนติเมตร จากก้นถังวาง ตะแกรงโลหะหรือไม่ ให้อยู่เหนือระดับน้ําเล็กน้อย จัดวางเรียงก้อนวัสดุเพาะเห็ดลงไปให้ถุงตั้งขึ้น จะบรรจุได้ประมาณ 60-70 ถุง ปิดฝารัดด้วยเข็มขัดจากนั้นต้มน้ําให้เดือด สังเกตไอน้ําจะพุ่งตรงขึ้นจากรูเจาะที่ฝา จับเวลาให้ได้ 2 ชั่วโมง หากมีหม้อนึ่งความดันก็ใช้ความดันระหว่าง 15-20 ปอนด์ ต่อตารางนิ้ว เป็นเวลา 30 นาที จึงดับไฟแล้วทิ้งไว้ให้เย็น จากนั้นนําไปใส่เชื้อขยายเมล็ดข้าวฟ่างถุงประมาณ 10-15 เมล็ด แล้วนําไปพักบ่มเส้นใยเจริญในโรงเรือนที่ร่ม อากาศถ่ายเทสะดวก เป็นเวลาประมาณ 28-38 วัน เมื่อเส้นใยเริ่มแก่ จะเห็นว่าเริ่มสร้างสีน้ําตาลบนผิววัสดุเพาะ หรือมีเส้นใยหนาๆ มาออตัวกันที่ปากถุง ถ้าเป็นเช่นนี้ 2-3 % นําไปเปิดดอกในโรงเรือนเปิดดอกได้


                   วิธีการเปิดดอกและโรงเรือนเปิดดอก
            การเปิดดอกจะใช้มีดคมๆ กรีดพลาสติกรอบๆ บ่าถุงออกเรียกว่า ตัดบ่า แล้วนําไปวางซ้อนบนชั้นตัวเอ ซึ่งการเรียงไม่ควรให้สูงเกิน 1.5 เมตร เพราะความชื้นและความเย็นจากพื้นโรงเรือนจะขึ้นไปไม่ถึง นอกจากนี้ยังสะดวกต่อการเก็บดอก ภายในโรงเรือนควรรักษาความชื้นไว้ที่ 70-90 % โดยการรดน้ํา ระวังอย่าให้น้ําเข้าไปขังในก้อนเชื้อ จะเป็นเหตุให้ก้อนเชื้อเน่าเสียเร็ว อุณหภูมิในการเกิดดอก ระหว่าง 20-35 ๐ซ การดูแลจะคล้ายกับเห็ดในตระกูลนางฟ้านางรม 
                   โรงเรือนเปิดดอก 
           โรงเรือนจะใช้วัสดุที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น เช่น ไม้ แฝก หญ้าคา เป็นต้น  จะต้องเก็บความชื้นได้ดี ระบบการถ่ายเทอากาศสะดวก ง่ายต่อการทําความสะอาด ส่วนพื้นโรงเรือนควรใช้วัสดุที่เก็บความชื้นได้ดี เช่น ทราย โรงเรือนที่นิยมมีขนาดกว้าง 4 เมตร ยาว 6 เมตร ที่ผนังด้านยาวมีหน้าต่างด้านละหนึ่งบานขนาด 0.45 x 0.65 เมตร นอกจากนี้ที่หน้าจั่วยังมีร่องระบายอากาศ ขนาด 0.4 x 0.6 เมตร โรงเรือนด้านในบุด้วยพลาสติก ด้านนอกมุงด้วยแฝก โรงเรือนควรอยู่ใต้ร่มไม้ หรือใช้ซาแลนตาถี่ บังแสงด้านในโรงเรือนไม่ให้แสงแดดส่องลงโดยตรง เนื่องจากเห็ดนี้ชอบสภาพอากาศรอนชื้น ในฤดูหนาวที่มีอุณหภูมิต่ำลงกว่า 20 ๐ซ เกษตรกรในภาคอีสาน จะขุดเป็นห้องใต้ดินเพื่อบ่มเชื้อและเปิดดอกในนั้น เป็นห้องเล็กๆ ขนาด 2 x 2 เมตร มีบันไดไม้พาดเดินลงไปส่วนเหนือพื้นดิน 0.5 เมตร จะทําเป็นหลังคาพลาสติกปิดคลุมไว้เว้นช่องระบายอากาศเล็กน้อย ดินจะเป็นตัวเก็บความร้อนให้เห็ดออกดอกสม่ำเสมอไม่พักตัวเนื่องจากอากาศเย็น


                  การเก็บดอกเห็ดขอนขาว 
              การเก็บดอกเห็ดขอนขาวเกษตรกรจะต้องหมั่นเก็บบ่อยๆ เหมือนเห็ดฟาง เนื่องจากดอกเห็ด
ขอนขาวเจริญเร็วมาก ควรเก็บในเวลา เช้า บ่าย และค่ำ ซึ่งผลผลิตในช่วงหลังจะเก็บไว้ในตู้เย็นแล้ว
นําไปขายปนกับผลผลิตที่เก็บในช่วงเช้า ดอกเห็ดในระยะที่ 1 และ 2 จะเหมาะที่สุดสําหรับการรับประทาน และขาย ได้ราคาสูงกว่าดอกระยะที่ 2 และ 3 การบิโภคจะตัดส่วนโคนก้านออกบ้าง เนื่องจากเริ่มจะเหนียวแล้ว 
                  การเก็บรักษาดอกเห็ด 
              ควรจะเก็บไว้ในที่ร่มเย็น ป้องกันไม่ให้ดอกฉ่ำน้ําจะเน่าเร็ว วิธีง่ายที่สุดคือห่อด้วยกระดาษหรือในถุงกระดาษและเก็บไว้ในช่องแช่ผัก หากบรรจุในถุงพลาสติกก็ควรเจาะรูให้ไอระเหยออกไปจะเก็บไว้ได้ประมาณ 1 สัปดาห์ หรือจะถนอมไว้โดยต้มกับน้ําเกลือ 3 เปอร์เซ็นต์ แล้วบรรจุในขวดแก้วที่สะอาด เมื่อเย็นก็เก็บไว้ในตู้เย็นช่องใต้ช่องน้ําแข็งจะยืดอายุการเก็บได้นานยิ่งขึ้น

             ติดต่อที่  โทร. 0908415240 สำหรับ เขตอำเภอหนองสองห้อง, 
ติดต่อที่  โทร. 0986726534 หรือ 0930767214 สำหรับ เขตอำเภอพุทไธสง, นาโพธิ์, บ้านใหม่ไชยพจน์, ประทาย, โนนแดง, คง, คูเมือง, แคนดง, บ้านด่าน, สตึก, จอมพระ, ชุมพลบุรี, ลำทะเมนชัย, เมืองยาง, ชุมพวง, พิมาย,  ฯลฯ


             ติดต่อที่  โทร. 0986726534 หรือ 0930767214 สำหรับ เขตอำเภอยางสีสุราช, นาเชือก, นาดูน, วาปีประทุม, พยัคฆภูมิพิสัย, ประทุมรัตน์, สตึก, จอมพระ, ชุมพลบุรี, ท่าตูม, สนม  ฯลฯ





ติดต่อที่  โทร. 0908415240 สำหรับ ผู้ที่ต้องการก้อนเห็ด(เชื้อเห็ด)ไปทำฟาร์มเก็บดอกขาย






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น