วันพุธที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2557

ปลาร้าต่วง ปลาร้านัว อำเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์ Plara Thaisong Slatternly

                  ปลาร้าเป็นผลิตภัณฑ์อาหารหมักพื้นบ้านที่เป็นเอกลักษณ์ของไทยมาช้านานเป็น อาหารที่เกิดจากภูมิปัญญาชาวบ้าน เป็นที่รู้จักอย่างดี โดยเฉพาะคนในภาคอีสานนิยมบริโภคกันมากและ   ยังจัดเป็นอาหารหลักประจำวันที่สำคัญ เมื่อถึงฤดูกาลฝนน้ำท่าอุดมสมบูรณ์ชาวบ้านในชนบทจะออกหาปลา ทั้งปลาเล็ก ปลาใหญ่ เพื่อนำมาปรุงเป็นอาหาร ปลาขนาดใหญ่อย่างเช่น ปลาช่อน ปลาตะเพียน ปลานิล มักนำมาต้มยำทำแกง ส่วนปลาตัวเล็ก อย่างปลาซิว ปลาขาว ปลากระดี่ กุ้ง ชาวบ้านมักนำมาหมักทำเป็นปลาร้า ปลาจ่อมบ้าง หากปริมาณปลาได้มากเกินความต้องการบริโภคในแต่ละมื้อ จึงแปรรูปปลาสดให้อยู่ในรูปแบบอื่น เพื่อไม่ให้เกิดการเน่าเสีย และช่วยยืดอายุการเก็บรักษาได้นาน

                พุทไธสงเป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดบุรีรัมย์ ที่มีรอยต่อเชื่อมระหว่าง จังหวัดร้อยเอ็ด มหาสารคาม อันเป็นบริเวณขอบนอกของทุ่งกุลาร้องให้  ดังนั้นสภาพพื้นที่เป็นทุ่งนากว้างใหญ่พอถึงฤดูฝนน้ำหลากท่วมท้องทุ่ง มีปลาใหญ่น้อยมากมาย ประชาชนในแถบนี้จึงมีอาชีพเสริมนอกจากการทำนา นั้นคือการทำปลาร้า ทั้งนี้เมื่อชาวบ้านหาปลาเพื่อบริโภค เหลือจากการบริโภคจึงนำปลามาแปรรูปเพื่อถนอมอาหาร ปลาเล็กปลาน้อยที่เหลือชาวบ้านนำมาแปรรูปเป็นปลาร้า วัสดุอุปกรณ์ที่ชาวบ้านใช้หมักปลาร้านั้นที่สำคัญ เกลือ รำ ข้าวคั่ว และโอ่งมังกรกับไหใช้บรรจุปลาร้า  ปลาร้า เมื่อหมักได้ที่มักนำออกมาใช้บริโภคกันทั้งแบบไม่ปรุง และแบบปรุงสุก แปรรูปเป็นอาหารหลากหลายเมนูพร้อมรับประทาน อาทิ แจ่วบอง น้ำพริกปลาร้า ปลาร้าสับ ส้มตำ

               ปลาร้าเป็นเป็นอาหารที่มีแคลเซียมสูง มีประโยชน์เพิ่มมูลค่าให้กับชาวอีสาน ซึ่งมีภูมิปัญญาในการหมักปลาร้ามาช้านาน เช่นเดียวกับคุณยายปุ่น  กลัดไธสง  มีกรรมวิธีหมักปลาร้าที่มีชื่อเสียงมานานซึ่งเป็นคุณแม่ของผู้ประกอบการใน ปัจจุบัน จึงประกอบอาชีพขายปลาร้าสืบทอดมาจากแม่  จนถึงทุกวันนี้ผู้ประกอบการในปัจจุบันได้ ทำปลาร้าขายมาเป็นเวลาเป็นเวลา 8 ปีแล้ว ดังนั้น จึงมุ่งไปที่ ภูมิปัญญาการทำปลาร้าต่วง นัว สูตรโบราณตามวิถีชีวิตของบรรพบุรุษที่ได้ทำมา

                ขั้นตอนการผลิตปลาร้าตวง นัว นั้นเริ่มต้นด้วยการเตรียมวัสดุอุปกรณ์คือ ปลา เกลือ ข้าวคั่ว รำ ไห และไม้พาย เมื่อจับปลามาได้จะนำมาทำความสะอาดก่อน จากนั้นก็จะทำการขอดเกล็ดและเอาขี้หรือไส้ออก  ล้างน้ำให้สะอาด และทิ้งให้สะเด็ดน้ำ แล้วใส่เกลือ
          โดยปลาร้าต่วงมีส่วนประกอบดังนี้
                 1. ปลา   2.เกลือ   3.รำ  และ
          ปลาร้านัวมีส่วนประกอบดังนี้
                 1.ปลา  2.เกลือ 3.รำ
                หลังจากนั้น ผสมคลุกเคล้ากัน และควรนวด บีบตัวปลาไปด้วย ขณะเคล้าเกลือให้เข้ากัน จะช่วยให้เกลือถูกดูดซึมเข้าไปในเนื้อปลาได้ดีขึ้น  แล้วใส่รำหรือข้าวคั่วผสมกับปลาหรือใส่ทั้งรำคั่ว ข้าวคั่ว  ปลาร้าต่วงเป็นปลาร้าที่หมักระยะสั้นที่ได้ปรุงแต่งเพื่อใช้ในการปรุงอาหาร ประเภท ส้มตำ  และ น้ำพริก เนื่องจากมีกลิ่นแรงและเป็นที่นิยม ปลาร้านัว เป็นปลาร้าที่ได้ปรุงแต่งกลิ่นไม่แรงเท่าปลาร้าต่วง โดยมีอายุการหมักยาวนานกว่า นิยมนำมาผสมอาหารประเภทแกง

                ภูมิปัญญาปลาร้าต่วง นัว, การประยุกต์ปลาร้าสูตรโบราณให้ตรงต่อความต้องการของผู้บริโภคในปัจจุบัน และ ความพึงพอใจของผู้บริโภคปลาร้าต่วง นัว อำเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์  ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด  ซึ่งเป็นสูตรที่พัฒนาปรับปรุงให้มีคุณค่า, คุณภาพและรสชาติ พิเศษเฉพาะของเราเท่านั้น ขณะนี้ยังมียังจำหน่ายเฉพาะในเขตอำเภอพุทไธสง

                ดังนั้น เพื่อให้เหมาะสมกับเป็นผลิตภัณฑ์ของผู้ศรัทธาในพระเยซูคริสต์ องค์พระผู้เป็นเจ้าของเรา ซึ่งพระองค์ทรงเป็นพระเจ้าแห่งความรัก, พระเจ้าแห่งความจริง จึงสมควรอย่างยิ่งที่จะเปิดโอกาสให้ผู้บริโภค ในทุกพื้นที่ได้ลิ้มลองปลาร้าต่วง นัว ที่มีทั้งคุณค่า, คุณภาพและรสชาติ พิเศษนี้อย่างทั่วถึง (ตามพระดำรัส ขององค์พระผู้เป็นเจ้า ใน หนังสือ มธ. 5:45 [THSV] กล่าวว่า “ เพื่อว่าพวกท่านจะเป็นบุตรของพระบิดาของท่านผู้สถิตในสวรรค์ เพราะว่าพระองค์ทรงให้ดวงอาทิตย์ของพระองค์ขึ้นส่องสว่างแก่คนดีและคนชั่ว เสมอกัน และให้ฝนตกแก่คนชอบธรรมและคนอธรรม” และ (มก. 12:30-31 [THSV ]) กล่าวว่า “พวกท่านจงรักองค์พระผู้เป็นเจ้าผู้เป็นพระเจ้าด้วยสุดใจของท่าน ด้วยสุดจิตของท่าน ด้วยสุดความคิดของท่านและด้วยสุดกำลังของท่าน ส่วนพระบัญญัติที่สำคัญอันดับสองคือ จงรักเพื่อนบ้านเหมือนรักตนเอง ไม่มีพระบัญญัติอื่นใดที่สำคัญยิ่งกว่าพระบัญญัติเหล่านี้” ) จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะขยายการผลิตและขยายตลาด ต่อไป

                      ท่านที่สนใจ สั่งซื้อไปรับประทาน หรือ ต้องการเป็นผู้แทนจำหน่าย โปรดติดต่อ โทร.086-2552680  หรือ E-Mail: christproductcenter@gmail.com






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น