เราลองมาดูกันจริงๆว่ากาแฟ หรืออะไรกันแน่ที่ทำให้เรามีน้ำหนักส่วนเกินขึ้นมา จริงๆแล้วกาแฟดำหนึ่งแก้วใหญ่ที่ไม่ใส่น้ำตาลมีแคลอรี่ (calorie) อยู่ประมาณ 17 – 19 แคลอรี่ (calorie) เท่านั้น ดังนั้นกาแฟจึงไม่ใช่สาเหตุที่ทำให้เรามีน้ำหนักเพิ่มขึ้น หรือมีไขมันส่วนเกินขึ้นมา แต่ว่าทำไมคนทั่วไปจึงคิดว่าการดื่มกาแฟทำให้อ้วนนั้น เป็นเพราะว่าส่วนผสมต่างๆที่ผสมลงไปเช่น
วิปครีม (whipped cream) ซึ่งมีแคลอรี่อยู่ที่ประมาณ 500 – 600 แคลอรี่ (calorie) และที่สำคัญอีกอย่างคือขนมหรือคุกกี้ที่เรากินเข้าไปพร้อมกับกาแฟ ตัวอย่างเช่น มัฟฟิน (muffin) มีแคลอรี่ถึง 1000 แคลอรี่ (calorie) เลยทีเดียว
สำหรับคนที่ชอบดื่มกาแฟสูตรพิเศษแก้วใหญ่พร้อมกับแซนวิช (sandwich) และขนมอื่นๆจะได้รับแคลอรี่มากถึง 1500 แคลอรี่ (calorie) สำหรับแคลอรี่ที่พอเหมาะสำหรับผู้หญิงในหึ่งวันคือ 2000 แคลอรี่ (calorie) และสำหรับผู้ชายคือ 25000 แคลอรี่ (calorie)
หลังจากดื่มกาแฟพร้อมกับของกินตามที่บอกไปแล้ว ทำให้เราเหลือปริมาณแคลอรี่สำหรับหนึ่งวันแค่ 500 แคลอรี่สำหรับผู้หญิงและ 1000 แคลอรี่สำหรับผู้ชาย ดังนั้นการดื่มกาแฟที่ผสมครีมและน้ำเชื่อมต่างๆ พร้อมกับขนมจะทำให้เราอ้วน และมีน้ำหนักส่วนเกินเพิ่มขึ้นมาอย่างรวดเร็วมาก
การที่คนเราดื่มกาแฟนั้น ถ้าไม่ได้ติดใจในรสชาติของกาแฟแล้ว ส่วนหนึ่งก็อาจจะเพราะหวังผลลดความง่วง สารออกฤทธิ์สำคัญที่อยู่ในกาแฟคือสารคาเฟอีน (caffeine) สารเคมีชนิดนี้มีฤทธิ์กระตุ้นประสาท จึงทำให้ผู้ดื่มตื่นจากอาการง่วงได้ นอกจากฤทธิ์กระตุ้นประสาทแล้ว คาเฟอีนยังออกฤทธิ์ต่อร่างกายส่วนอื่นๆ ด้วยไม่ต่างจากการกินยาชนิดหนึ่งเข้าไป ผลข้างเคียงที่ว่านี้ได้แก่ ทำให้ใจสั่น ชีพจรเร็วขึ้น เวียนหัว กระสับกระส่าย ปากแห้ง ปวดท้อง คลื่นไส้ ท้องเสีย ปัสสาวะเพิ่มขึ้น ผลข้างเคียงที่กล่าวมานี้ อาจเกิดขึ้นมากน้อยแตกต่างกันไปในคนแต่ละคน หรือในคนคนเดียวกัน ผลบางอย่างก็เกิดมาก ผลบางอย่างก็เกิดน้อย ผลแต่ละอย่างจะเกิดมากหรือเกิดน้อยก็ขึ้นอยู่กับปริมาณคาเฟอีนที่ได้รับและสรีระวิทยาของร่างกาย
ด้วยเหตุนี้ท่านที่อยู่ในวงสังคมคนชอบดื่มกาแฟ คงจะเคยได้ยินเพื่อนบางคนบอกว่า ดื่มกาแฟแล้วไม่เห็นหายง่วงเลย หรือดื่มกาแฟทีไรแล้วท้องเสียทุกที หรือดื่มกาแฟแล้วใจสั่นจนทำงานไม่ได้ ในขณะที่บางคนดื่มกาแฟไปแล้วมีอาการเหล่านี้บ้างแต่ก็ไม่รุนแรงนัก
ในเรื่องของฤทธิ์กระตุ้นสมอง
ก่อให้เกิดอาการใจสั่น และทำให้ชีพจรเต้นเร็วนั้น หากได้รับคาเฟอีนในปริมาณสูงมาก เช่น ในกรณีของการกินคาเฟอีนอัดเม็ดที่มีขายในต่างประเทศเข้าไปจำนวนมากเกิน สามารถทำให้หัวใจเต้นรัวจนเสียชีวิตได้ ในกรณีของการกินเมล็ดกาแฟสดเข้าไปจำนวนมาก ก็เคยมีรายงานว่าทำให้มีอาการโคม่าได้เหมือนกัน แต่สำหรับกรณีของกาแฟที่ชงสำเร็จแล้วนั้น ปริมาณคาเฟอีนที่มีอาจไม่มากพอที่จะทำให้โคม่าหรือเสียชีวิตได้ ถ้าไม่ได้ดื่มเข้าไปหลายๆ ลิตร
ในภาพรวมของการทำให้เสียชีวิตและเป็นมะเร็งในระยะยาว เราพบว่าการดื่มกาแฟเป็นประจำอาจช่วยลดอัตราการเสียชีวิตจากทุกสาเหตุรวม กันลงได้ สำหรับในเรื่องการก่อมะเร็งนั้น ข้อสรุปเท่าที่มีในปัจจุบันเราเชื่อว่าการดื่มกาแฟไม่ใช่เหตุก่อมะเร็งมีงานวิจัยหลายชิ้น บ่งชี้ว่ากาแฟ อาจมีส่วนช่วยลดความเสี่ยงจากโรคบางอย่างได้ ตัวอย่างของโรคเหล่านี้ เช่น โรคหลงลืม (dementia) โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer’s disease) โรคพาร์กินสัน (Parkinson’s disease) ทำให้ความจำระยะสั้นดีขึ้น (short term recall) ลดความเสี่ยงต่อการเป็นนิ่วในถุงน้ำดี (gallstone) ลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน (diabetes) ช่วยป้องกันภาวะตับแข็ง (cirrhosis) ลดความเสี่ยงต่อการตายจากโรคหัวใจและหลอดเลือด (cardiovascular disease) ลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเกาต์ (gout)
หากกล่าวถึงผลเสียของการดื่มกาแฟ ก็มีงานวิจัยหลายฉบับที่พบอันตรายจากการดื่มกาแฟเช่นกัน ที่ค่อนข้างชัดเจนคือกาแฟทำให้เป็นแผลในกระเพาะอาหาร กระตุ้นให้เกิดอาการกรดไหลย้อน ทำให้ระดับไขมันในเลือดสูงขึ้น ทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้นชั่วคราว รบกวนการดูดซึมธาตุเหล็กและทำให้เกิดภาวะโลหิตจางในมารดาและทารก ทำให้นอนไม่หลับ และวิตกกังวล
ในเรื่องการป้องกันฟันผุ มีการตั้งสมมติฐานว่า สารกลุ่มโพลีฟีนอลในกาแฟมีฤทธิ์ป้องกันฟันผุได้ ดังนั้นการดื่มกาแฟไม่ใส่น้ำตาลอาจทำให้ลดโอกาสในการเกิดฟันผุลง แต่หากมองในแง่ความสวยงามแล้ว พบว่ากาแฟมีฤทธิ์ทำให้ฟันเหลือง
เกี่ยวกับอาการปวดหัวกับกาแฟ ในอดีตเราเชื่อว่าคาเฟอีนในกาแฟเป็นสารที่มีฤทธิ์แก้ปวดหัวได้ ยาแก้ปวดหัวหลายสูตรจึงมีส่วนผสมของคาเฟอีนอยู่ด้วย ซึ่งได้ผลทั้งในกรณีปวดศีรษะแบบบีบรัด และโรคปวดศีรษะไมเกรน อย่างไรก็ตามงานวิจัยบางส่วนมีข้อมูลแย้งว่า การได้รับคาเฟอีนในระยะสั้นนั้นอาจลดอาการปวดหัวได้จริง แต่ถ้าดื่มบ่อยๆ จนเกิดอาการติด เมื่อไม่ได้ดื่มกลับจะทำให้ปวดหัวมากขึ้น
ส่วนในเรื่องของการต้านอนุมูลอิสระ มีการกล่าวถึงกาแฟทั้งแง่ที่ว่าสามารถป้องกันมะเร็งได้ เนื่องจากฤทธิ์ของสารต้านอนุมูลอิสระในกาแฟหลายตัว เช่น เมทิลไพริดิเนียม โพลีฟีนอล อย่างไรก็ตาม ฤทธิ์ของสารต้านอนุมูลอิสระเหล่านี้ ค้นพบการออกฤทธิ์แค่เพียงในหลอดทดลองเป็นส่วนใหญ่ การพิสูจน์ผลออกฤทธิ์ที่เกิดประโยชน์ในคนจริงๆ ยังไม่มีชัดเจน การเชื่ออย่างสนิทใจว่ากินกาแฟแล้วจะป้องกันมะเร็งได้นั้นจึงยังอาจไม่ถูกนัก ในทางตรงข้ามกัน นักวิจัยก็ค้นพบสารสกัดที่อาจก่อมะเร็งอยู่ในกาแฟหลายชนิดเหมือนกัน แต่สารเหล่านี้ก็มีข้อมูลแต่เพียงในหลอดทดลอง ข้อสรุปที่เป็นกลางในปัจจุบันนี้ที่พอเชื่อถือได้ คือการกล่าวว่า การดื่มกาแฟค่อนข้างชัดเจนว่าไม่ใช่เหตุก่อมะเร็ง แต่ฤทธิ์ต้านมะเร็งนั้นมีจริงหรือไม่อาจยังไม่รู้แน่ชัด
จากผลที่กล่าวมาทั้งหมดจะเห็นได้ว่า ผลของกาแฟต่อสุขภาพนั้นมีทั้งข้อดีและข้อเสีย โดยข้อดีดูจะมีมากกว่าข้อเสียเล็กน้อย ผลบางอย่างข้อมูลปัจจุบันยังดูมีความขัดแย้งกันอยู่ อาจต้องรอการพิสูจน์ในอนาคตจึงจะทราบข้อสรุปที่ชัดเจนขึ้น ในประชากรบางกลุ่ม การดื่มกาแฟอาจก่อผลเสียได้ค่อนข้างมาก เช่น คนเป็นโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ คนเป็นโรคกระเพาะอาหาร คนเป็นโรคกรดไหลย้อน ประชากรกลุ่มนี้จึงควรหลีกเลี่ยงการดื่มกาแฟถ้าเป็นไปได้ แต่ในคนที่ไม่มีความเสี่ยงใดๆ แล้ว การดื่มกาแฟก็ไม่ได้เป็นเรื่องห้า
“กาแฟปรุงสำเร็จชนิด 3 in 1 ไบโอริชี่ผสมเห็ดหลินเจือแดง เติมความสดชื่นสำหรับสุขภาพที่ดีและอายุยืนยาว คาเฟอีนต่ำเพียง 10% เท่านั้น รสชาติเข้มข้น อร่อย ไม่ทำให้แก่เร็ว กระปี้กระเปร่า มีสารต้านอนุมูลอิสระและต้านมะเร็ง”
คุณประโยชน์
- กระตุ้นระบบภูมิคุมกัน ทำให้ร่างกายแข็งแรง ไม่เป็นหวัดหรือภูมิแพ้
- ควบคุมไขมันและระดับน้ำตาลในเลือด ควบคุมความดันโลหิต ป้องกันภาวะโรคหัวใจและปกป้องตับจากสารพิษต่าง ๆ
- ช่วยให้พลังงานแก่ร่างกาย ทำให้ร่างกายสดชื่นแจ่มใส หายจากอาการอ่อนเพลีย
- ขยายหลอดเลือดแดงทำให้ระบบการไหลเวียนโลหิตดีขึ้น
- กระตุ้นการทำงานของระบบประสาทและสมอง
- ต่อต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันการเกิดเซลล์มะเร็ง
และขอขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก อินเตอร์เน็ต นะค่ะ
สนใจติดต่อเราที่ 081-9990483 หรือ E-Mail: christproductcenter@gmail.com
พิซซ่า (อิตาลี: Pizza) เป็นอาหารอิตาเลียนและฟาสต์ฟู้ดประเภทหนึ่ง ซึ่งชาวอิตาลีเป็นผู้คิดค้น มีลักษณะเป็นแป้งแผ่นกลมแบนราดด้วยซอสมะเขือเทศ แล้วทำให้สุกโดยการอบในเตาอบ
ประวัติ[แก้]
ประวัติของพิซซ่าเริ่มต้นขึ้นในปี ค.ศ. 79 เมื่อภูเขาไฟวิสุเวียสระเบิดขึ้นและทลายเมืองปอมเปอีทั้งเมือง หลังจากนั้นประมาณ ค.ศ. 640 แกตาโน ฟิโอเรลลี่ ได้ค้นพบเตาฟืนโบราณจำนวนมากมายในซากปรักหักพังของเมือง ที่ถูกลาวาถล่ม หนึ่งในจำนวนเตาทั้งหมดนั้นพบว่ามีเถ้าถ่านขนมปังติดอยู่ในเตาอยู่ถึง 7 กิโลกรัม ซึ่งเป็นหลักฐานที่น่าเชื่อถือว่าทหารโรมันในช่วงเวลาดังกล่าว (ก่อนเมืองปอมเปอีจะถูกถล่มด้วยลาวาและเถ้าภูเขาไฟ) ต่างกินขนมปังที่อบด้วยเตาฟืนโบราณนี้ ซึ่งสันนิษฐาน ได้ว่าชาวเมือง ในเมืองนาโปลีก็ทานขนมปังที่อบในเตาฟืนโบราณเช่นนี้มาประมาณ 700 ปีแล้ว ต่อมาในต้น ค.ศ. 1700 ชาวเมืองนาโปลีจึงได้เริ่มประยุกต์ใส่มะเขือเทศกับสมุนไพรบางอย่างลงในขนมปังแล้วนำไปอบในเตาฟืนโบราณ นี่เองคือจุดเริ่มต้นของมารีนาราพิซซ่า และร้านพิซเซอเรียร้านแรกในนาโปลี ได้เปิดขายในปี ค.ศ. 1830
โดยร้านดังกล่าวใช้วิธีการอบพิซซ่าในเตาที่ทำจากหินภูเขาไฟ อีกประมาณร้อยปีต่อมา (นับจาก ค.ศ. 1700) และชีสเริ่มเข้ามามีอิทธิพลในอาหาร แต่ชีสดังกล่าวไม่ใช่ชีสปกติธรรมดาทั่วไป เป็นชีสที่ทำจากน้ำนมควายพื้นเมืองที่ชื่อ ฟิออเร่ ดี บัฟฟาล่า ประมาณปี ค.ศ. 1850 จึงเกิดพิซซ่ามาเกอริต้าขึ้นโดย ราฟาเอล เอสโปสิโต แห่งเมืองเนเปิล ซึ่งได้ทำพิซซ่าถวายเมื่อคราวที่สมเด็จพระราชาธิบดีอุมแบร์โตที่ 1 และสมเด็จพระราชินีมาเกอริต้าได้เสด็จเยือนเมืองเนเปิล โดยใช้สีบนหน้าพิซซ่าแทนสัญลักษณ์ของธงชาติอิตาลี โดยใช้ใบเบซิลแทนสีเขียวใช้มอสซาเรลล่าชีสแทนสีขาวและมะเขือเทศแทนสีแดง และตั้งชื่อพิซซ่าเพื่อเป็นเกียรติแด่พระราชินีว่า มาเกอริต้า ซึ่งพระนางก็ได้ทรงพระอนุญาตให้ใช้ชื่อพระนางเป็นชื่อของพิซซ่าเมื่อปี ค.ศ. 1889 ซึ่งพิซซ่าดังกล่าวได้กลายเป็นมาตรฐาน ของพิซซ่าในปัจจุบัน ซึ่งพิซซ่าในปัจุบันโดยทั่วไปต่างก็ดัดแปลงหน้ามาจากพิซซ่า 2 ชนิดนี้ ซึ่งเป็นพิซซ่าดั้งเดิมของชาวนาโปลี คือมารีนาราพิซซ่าและมาเกอริต้าพิซซ่า
ตำนาน
กาลครั้งหนึ่งในสมัยกรุงโรมโน้น ได้มีผู้ค้นพบหลักฐานบันทึกว่า .. "มีแป้งแผ่นกลมๆบางๆปรุงด้วยน้ำมะกอก สมุนไพร น้ำผึ้ง วางบนหินร้อน สักพักก็สุก" สมัยนั้นเรียกกันว่า Placenta กาลต่อมาในปีค.ศ.79 นักโบราณคดีพบว่ามีร้านขายพิซซ่าอยู่ที่เมืองปอมเปอี ที่เคยถูกภูเขาไฟระเบิดพ่นลาวาทับทั้งเมือง
เวลาผ่านไป(เมื่อประมาณ 200 ปีที่ผ่านมานี้) เมืองนาโปลี ได้กลายเป็นต้นกำเนิดของพิซซ่าสมัยใหม่ โดยมีร้านพิซซ่าแห่งแรกชื่อพอร์ต อัลบ้า (Port’ Alba) และก็มีอีกหลายๆร้านเปิดตามมา พิซซ่าชาวนาโปลีจะอบในเตาที่ก่อด้วยหิน จากภูเขาไฟเวซุเวียส เนื่องจากกระจายความร้อนได้สม่ำเสมอ และใช้ฟืนเป็นเชื้อเพลิง
ต่อมามีคนทำพิซซ่ามือเยี่ยมคนหนึ่งนาย ดอน ราฟาเอล เอสโพสิโต เป็นคนแรกที่ใช้มอซซาเรลล่าชีส หรือชีสนมควาย เป็นเครื่องปรุง ชาวเมืองนิยมชมชอบมากจนกลายมาเป็นเอกลักษณ์ของพิซซ่านาโปลี และแพร่หลายมาจนถึงปัจจุบัน
เอกลักษณ์สำคัญของพิซซ่านาโปลี ต้องอบในเตาที่อุณหภูมิ 340 องศาเซลเซียส ต้องใช้ฟืนเป็นเชื้อเพลิง ต้องมีชีสมอซซาเรลล่า ผงเครื่องเทศออริกาโน (Origano) ปลาเค็มเอนโชวี (Anchovi)* มะเขือเทศ เบซิล (Basil) และกระเทียม
พอช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 คนอเมริกันก็หัดทำพิซซ่ากินกันบ้าง จนได้สูตรแบบอเมริกัน และแพร่หลายไปทั่วโลก
ครั้นปีค.ศ. 1960 เกิดเกิดสงครามเวียดนามทหารอเมริกันเข้ามาตั้งฐานทัพในเมืองไทย ได้นำเอาวัฒนธรรมการกินพิซซ่าเข้ามาด้วยแต่ยังไม่เป็นที่แพร่หลายนัก สมัยนั้นต้องไปกินกันตามโรงแรม และห้องอาหารอิตาเลียนเท่านั้น แต่เมื่อประมาณ พ.ศ. 2513 ร้านพิซซ่าฮัท มาเปิดสาขาแรก เด็กไทย คนรุ่นใหม่ก็แห่กินกันทั้งบ้านทั้งเมือง ทุกวันนี้การกินพิซซ่าไม่ได้ยากลำบากอีกแล้ว เพียงโทรศัพท์กริ๊งเดียวภายใน 15 นาทีก็มาส่งถึง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น